ใครมีอำนาจสั่งเพิกถอนหลักฐานทะเบียน ตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร ?

 

#คำถาม : ข้อใดกล่าวถูกต้อง ?

1. นายทะเบียนกรุงเทพมหานครไม่มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตร ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
2. นายทะเบียนท้องถิ่นเขตพญาไทไม่มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรในเขตปกครองของตน ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
3. นายทะเบียนจังหวัดอาจมอบอำนาจให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด ผู้ช่วยนายทะเบียนจังหวัด หรือนายทะเบียนอำเภอ ปฏิบัติราชการแทนได้
4. นายทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนท้องถิ่น กำนันใน และผู้ใหญ่บ้าน เป็นนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ในเขตอำเภอ ท้องถิ่น ตำบล และหมู่บ้าน แล้วแต่กรณี
5. ทุกข้อที่กล่าวมาถูกต้อง


———————————————————
1. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 (ฉบับวิถีแห่งสิงห์)
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545
3. ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง การแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นนายทะเบียนผู้รับแจ้ง 2535
———————————————————

1. นายทะเบียนกรุงเทพมหานครไม่มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตร ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
= ถูก

2. นายทะเบียนท้องถิ่นเขตพญาไทไม่มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรในเขตปกครองของตน ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
= ผิด
—————————————————————
อธิบาย : ข้อ 1 และข้อ 2

(ฎ. 4730/2545) ศาลฎีกาได้วางหลักเกี่ยวกับนายทะเบียนผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนหลักฐานทะเบียน ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 10 วรรคสามไว้ ดังนี้

นายทะเบียนผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนหลักฐานทะเบียน ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 10 วรรคสาม หมายถึง นายทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนท้องถิ่น และผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายทะเบียนหรือผู้ช่วยนายทะเบียนดังกล่าว

เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้นายทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนท้องถิ่น และผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายทะเบียนหรือผู้ช่วยนายทะเบียนดังกล่าวเท่านั้น ที่เป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งการเกิด การตาย ฯลฯ ตามมาตรา 18 ถึงมาตรา 22 (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีอำนาจรับแจ้งเบื้องต้นก่อนเสนอต่อนายทะเบียนอำเภอเพื่อออกหลักฐานทะเบียน | สำหรับผู้อำนวยการทะเบียนกลาง/นายทะเบียนจังหวัด/นายทะเบียน กทม. ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง)

แม้นายทะเบียนกรุงเทพมหานครจะเป็นนายทะเบียนตามความหมายของกฎหมาย แต่ไม่เป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งการเกิด การตาย ฯลฯ ตามมาตรา 18 ถึงมาตรา 22 แต่อย่างใด ประกอบกับนายทะเบียนกรุงเทพมหานครมิใช่นายทะเบียนผู้รับแจ้งอันมีหน้าที่ดังกล่าวโดยตรง และไม่ได้เป็นผู้รับแจ้งการเกิด การตาย ฯลฯ จึงไม่มีมีอำนาจเพิกถอนหลักฐานทะเบียนตามมาตรา 10

นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้ผู้อำนวยการเขตเป็นนายทะเบียนท้องถิ่น หากปรากฏหลักฐานเชื่อได้ว่าการจัดทำหลักฐานทะเบียนมิชอบด้วยกฎหมาย นายทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้รับแจ้งการเกิด การตาย ฯลฯ ย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนหลักฐานทะเบียนดังกล่าวได้
ดังนั้น นายทะเบียนกรุงเทพมหานครจึงไม่มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตร แต่นายทะเบียนท้องถิ่นเขตพญาไทมีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรในเขตปกครองของตน
—————————————————————
3. นายทะเบียนจังหวัดอาจมอบอำนาจให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด ผู้ช่วยนายทะเบียนจังหวัด หรือนายทะเบียนอำเภอ ปฏิบัติราชการแทนได้
= ผิด

นายทะเบียนจังหวัดอาจมอบอำนาจให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือผู้ช่วยนายทะเบียนจังหวัด เท่านั้น ปฏิบัติราชการแทนได้
(ตามมาตรา 8/2 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534)


4. นายทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนท้องถิ่น กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน เป็นนายทะเบียนผู้ผู้รับแจ้ง ในเขตอำเภอ ท้องถิ่น ตำบล และหมู่บ้าน แล้วแต่กรณี
= ผิด

ตามประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง การแต่งตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นนายทะเบียนผู้รับแจ้ง กำหนดให้กำนันทุกตำบล (ในฐานะผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้น ๆ) ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน เป็นนายทะเบียนผู้รับแจ้ง มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับแจ้งการเกิด การตาย การย้ายที่อยู่ การสร้างบ้านใหม่ การรื้อบ้านและการกำหนดเลขประจำบ้าน


5. ทุกข้อที่กล่าวมาถูกต้อง
= ผิด

.
.
.
.
กดติดตามเพจวิถีแห่งสิงห์
เพื่อไม่พลาดข้อมูลเด็ด ๆ
ในการทำงานและเตรียมสอบ
สายงาน “นักปกครอง”
.
.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ๒๕๕๕ : ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ

ผู้ยึดมั่นในวิถีแห่งสิงห์

"ผู้ใหญ่บ้าน” ต้องมีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ…?