7 ข้อต้องรู้ !!! เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้ (ล่าสุด)

 


7 ข้อต้องรู้ !!! เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้ (ล่าสุด)


(13 สิงหาคม 2564) ราชกิจจาฯ ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมทวงหนี้ ไม่เกิน 1,000 บาท ห้ามเรียกเก็บ

———————————————————

1. พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 (ฉบับวิถีแห่งสิงห์)
2. ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ เรื่อง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ 2564

———————————————————
โดยวิถีแห่งสิงห์ได้รวบรวมประเด็นสำคัญ ที่ฝ่ายปกครองต้องรู้และทำความเข้าใจ เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้ล่าสุดทั้งหมด 7 ข้อ ดังนี้…

1. ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ หมายความว่า
1.1 จำนวนเงินที่ได้กำหนดไว้เป็น
(1) ค่าธรรมเนียม
(2) หรือค่าใช้จ่าย
1.2 ในการทวงถามหนี้จาก
(1) ลูกหนี้
(2) หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้
1.3 โดยต้องมีหลักฐานหรือเอกสารเกี่ยวกับการทวงถามหนี้ให้สามารถตรวจสอบได้
1.4 แต่ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการติดตามเอาทรัพย์กลับคืน

2. รอบการทวงถามหนี้ หมายความว่า
2.1 รอบระยะเวลาเพื่อการทวงถามหนี้
2.2 โดยนับตั้งแต่วันผิดนัดชำระหนี้ของงวดนั้นจนถึงวันครบกำหนดชำระหนี้งวดถัดไป
2.3 ทั้งนี้การนับหนึ่งรอบระยะเวลาดังกล่าวจะต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน

3. อัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้และมีการทวงถามหนี้ ได้แก่
3.1 ค้างชำระหนึ่งงวด เรียกเก็บได้ไม่เกิน 50 บาทต่อรอบ
3.2 ค้างชำระมากกว่าหนึ่งงวด เรียกเก็บได้ไม่เกิน 100 บาทต่อรอบ

4. อาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ในกรณีใด
4.1 กรณีเป็นหนี้ประเภทให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลิสซิ่ง ในสินค้าประเภทรถ
4.2 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการลงพื้นที่ติดตามทวงถามหนี้ ตามที่เกิดขึ้นจริง
4.3 ให้เรียกได้เฉพาะมีการค้างชำระมากกว่าหนึ่งงวด โดยเรียกเก็บได้ไม่เกิน 400 บาทต่อรอบ

5. ห้ามเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการทวงถามหนี้ ในกรณีมีหนี้ค้างชำระไม่เกิน 1,000 บาท

6. ห้ามเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการทวงถามหนี้ภายหลังจาก
6.1 ได้รับการชำระครบตามจำนวน
6.2 หรือมีการบอกเลิกสัญญาแล้วตามกฏหมาย

7. ประกาศนี้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2564 เป็นต้นไป

———————————————————

7 ข้อต้องรู้ !!! หากฝ่าฝืนประกาศค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้


อธิบายเพิ่มเติม :

ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ฉบับนี้ ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 13 (1) และมาตรา 16(1) แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ผู้ฝ่าฝืนต้องมีโทษทางปกครอง

(คณะกรรมการ = คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี)

โดยมาตรา 34 ถึงมาตรา 38 กำหนดโทษทางปกครอง กรณีมีการฝ่าฝืน ดังนี้

1. ให้คณะกรรมการมีอำนาจในการสั่ง
(1) ให้ระงับการกระทำ
(2) หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสม ภายในระยะเวลาที่กำหนด

2. ถ้าผู้ทวงถามหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวให้คณะกรรมการมีคำสั่งลงโทษปรับทางปกครอง ไม่เกิน 100,000 บาท

3. คำสั่งทางปกครองต้องคำนึงถึงความร้ายแรงแห่งพฤติกรรมที่กระทำผิดด้วย

4. หากผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครองไม่ยอมชำระค่าปรับทางปกครอง ให้ดำเนินการดังนี้
4.1 ให้บังคับทางปกครองตามกฏหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (มีการออกหนังสือแจ้ง/เตือน และแต่งต้ังเจ้าพนักงานบังคับทางปกครอง เพื่อดําเนินการยึดหรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินต่อไป)
4.2 กรณีไม่มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการบังคับตามคำสั่งหรือมีแต่ไม่สามารถดำเนินการได้
(1) ให้คณะกรรมการมีอำนาจฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อบังคับชำระค่าปรับ
(2) และให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาบังคับให้มีการยึดอายัดทรัพย์สิน ขายทอดตลาดเพื่อชำระค่าปรับได้

5. กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการแทนนิติบุคคล ต้องรับโทษทางปกครองด้วย

6. คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ได้หากพบว่า
(1) เคยถูกลงโทษปรับทางปกครอง และถูกลงโทษซ้ำอีกจากการกระทำผิดอย่างเดียวกัน
(2) กระทำการฝ่าฝืนตามกฏหมายทวงถามหนี้ที่มีโทษทางอาญา

7. การอุทธรณ์คำสั่ง ให้ดำเนินการดังนี้
(1) ผู้ทวงถามหนี้มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งการชำระค่าปรับทางปกครองและการเพิกถอนการจดทะเบียนต่อคณะกรรมการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
(2) คณะกรรมการต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
(3) คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
.
.
กดติดตามเพจวิถีแห่งสิงห์
เพื่อไม่พลาดข้อมูลเด็ด ๆ
ในการทำงานและเตรียมสอบ
สายงาน “นักปกครอง”
.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ๒๕๕๕ : ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ

ผู้ยึดมั่นในวิถีแห่งสิงห์

"ผู้ใหญ่บ้าน” ต้องมีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ…?