ถอดบทเรียนการบริหารจัดการการฉีดวัคซีนของผู้ว่าฯลำปาง

 



ถ้าผู้ว่าคือวิศวกรสังคม ปลัดอำเภอก็คือช่าง ที่จะเป็นฟันเฟืองในการร่วมสร้างก่อต่อเติมให้บ้านเมืองและสังคมดีขึ้น 


#ถอดรหัสลำปางโมเดล


มท. ถอดบทเรียนการบริหารจัดการการฉีดวัคซีนของจังหวัดลำปาง โดย ท่านผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร


จากการ Video Conference มอบนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ 13 พ.ค. 64 


ท่านผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ (Knowledge Sharing) ในการบริหารจัดการการฉีดวัคซีน จับประเด็นสำคัญๆ ได้ ดังนี้


1. #Target : ประชากร จ.ลำปาง 740,000 คน คิดเป้าหมาย 70% เป็นจำนวน ประมาณ 500,000 คน


2. #Capacity : สามารถฉีดวัคซีนได้ 5,000 คน/วัน ยกระดับได้สูงสุด 6,100 คน/วัน (ประมาณ 2 แสนคน/เดือน) โดยปัจจุบันมีทีมฉีดวัคซีนจำนวน 59 ทีม


3. #DataAnalytics : เปรียบเทียบข้อมูลจาก Health Data Center 1) ผู้สูงอายุ 1.7 แสนคน 2) ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง 1.6 แสนคน ทั้งนี้ อาจทับซ้อนระว่าง 1) และ 2) ซึ่งตัวเลขใกล้เคียงกับคนลงทะเบียนประมาณ 2 แสนคนเศษ


4. #ProblemFinding : จากการสำรวจในชุมชน พบว่า 1) ระบบ Application ในช่วง peak ไม่สามารถเข้าได้ 2) ผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทไม่สามารถใช้ App. ลงทะเบียนได้


5. #Channels : 3 ช่องทาง 1) Application โดยทีมช่วยนำข้อมูลไปลงทะเบียนสำหรับผู้ที่ประสงค์จะฉีดวัคซีน แต่ไม่สามารถลงทะเบียนได้เอง ในช่วงกลางคืนที่มี Transaction น้อย 2) เคาะประตูบ้าน โดย อสม. สร้างความเข้าใจเรื่องวัคซีน โดยใช้ภาษาถิ่นให้เข้าใจ 3) Call Center 10 คู่สาย ระหว่างเวลา 08.00 – 24.00 น. รับเรื่องร้องเรียน และรับแจ้งความประสงค์จะลงทะเบียนวัคซีนด้วย


6. #Mechanism : ใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) โดยมี นายอำเภอ เป็นประธาน มี อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทีม 3 หมอ (แพทย์ /รพ.สต./อสม.) เป็นทีมรณรงค์ลงพื้นที่สร้างความรับรู้อย่างต่อเนื่อง โดยนัดเป็นชุมชนๆไป มีระบบบัตรคิว และจัดรถรับส่งไปยังสถานที่ฉีดวัคซีน


7. #Model : นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง และนายอำเภอเมืองลำปาง จัดทำเป็น Model ทดสอบระบบ ก่อนจะขยายผลไปยังอีก 12 อำเภอของ จ.ลำปาง และวิเคราะห์ส่วนที่เกิน Capacity ของจังหวัด หากได้รับการจัดสรรวัคซีนมา เพื่อหาทางบริหารจัดการเพิ่มเติมต่อไป และวางแผนหากพบอาการข้างเคียงน้อย อาจจะพิจารณาไปฉีดวัคซีนนอกสถานที่ เช่น ห้างสรรพสินค้า พื้นที่ห่างไกล และพื้นที่ Space อื่นๆ ต่อไป เพื่อให้คนใน จ.ลำปางกลับมาดำเนินชีวิต และกิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการสร้างภูมิคุ้มกันภายจังหวัด


เป็นอีกหนึ่งเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (Covid-19 COP) ระหว่าง 76 จังหวัดและ กทม. พร้อมขับเคลื่อนการบริหารสถานการณ์โควิด-19 และนโยบายที่สำคัญ ของ มท.


ขอบคุณข้อมูลจาก : สนผ.สป.มท.


#บำบัดทุกข์บำรุงสุข

#วิถีแห่งสิงห์ #ปลัดอำเภอ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ๒๕๕๕ : ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ

ผู้ยึดมั่นในวิถีแห่งสิงห์

"ผู้ใหญ่บ้าน” ต้องมีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ…?