ถ้าอยากจำได้นาน จงอ่านหนังสือ 2 เล่มพร้อมกัน

 


#เทคนิคอ่านหนังสือให้จำแบบไม่มีวันลืม

.

ถ้าอยากจำได้นาน จงอ่านหนังสือ 2 เล่มพร้อมกัน

.

ปัญหาสุดคลาสสิคที่เหล่านักการสอบอย่างเรา ๆ ต้องเจอ คือ อ่านแล้วไม่จำ อ่านจบเล่มแล้วก็ลืมเกือบหมด เรียกว่าได้หน้าลืมหลัง หรือได้หลังลืมหน้า ทำให้พอลงสนามจริงก็สอบไม่ได้สอบไม่ผ่านกัน ไม่ใช่ว่าผู้เข้าสอบไม่มีเวลาอ่านหนังสือ อ่านหนังสือไม่ครบ หรือไม่เข้าใจเนื้อหาหรอกนะ แต่อ่านแล้วมันจำไม่ได้จริงไหม

.

เรื่องนี้สามารถอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์ได้ตามงานวิจัยของนักจิตวิทยาที่ชื่อคุณแฮร์มันน์ เอบบิงเฮาส์ ซึ่งค้นพบว่า สมองของคนเราจะลืมข้อมูลที่ได้เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่ผ่านไป เขาบอกว่าเมื่อเวลาผ่านไป 20 นาที เราจะลืมข้อมูลไป 42% เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมงเราจะลืมไป 54% พอผ่านไป 1 วันจะลืมไป 74% และพอผ่านไป 1 สัปดาห์จะลืมไป 79% การทดลองนี้เรารู้จักในชื่อ “เส้นโค้งการลืมของเอบบิงเฮาส์ (Ebbinghaus’ Forgetting Curve)”

.

ยกตัวอย่างเช่น เราอ่านหนังสือสอบปลัดอำเภอ 1 เล่ม หนา 500 หน้า ใช้เวลาอ่านเต็มที่แบบสุด ๆ หมดเล่มใน 1 วัน ปรากฏว่าเพียงวันถัดไปเราจะจำเนื้อหาที่อ่านนั้นได้เพียง 26% ใช่!!! มันหายไป 74% หมายความว่ากว่าเราจะเริ่มอ่านเล่มถัดไปหรือจะทบทวนซักหน่อย เราก็ลืมเนื้อหาเก่าไปเกือบหมดแล้ว

.

แล้วเราจะแก้ปัญหาการลืมนี้ได้อย่างไร ? 

.

มีวิธีการแก้ปัญหาหนึ่งที่พอจะได้ผลบ้าง นั่นก็คือให้เราหมั่นทบทวนข้อมูลหรือเนื้อหาที่อ่านบ่อย ๆ เส้นโค้งการลืมนี้ก็จะลดลงอย่างช้า ๆ ทำให้เราลืมได้ยากขึ้น

.

เนื่องจากสมองของคนเราแบ่งประเภทความจำออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ “ความจำระยะสั้น” และ “ความจำระยะยาว” ซึ่งสิ่งที่ตัดสินว่าข้อมูลที่เรารับมานั้นจะจัดอยู่ในรูปแบบความจำระยะสั้นหรือระยะยาว สมองส่วนฮิปโปแคมปัสจะเป็นตัวตัดสิน โดยมันจะเลือกเฉพาะข้อมูลมีความสำคัญเท่านั้นที่จะเก็บไว้ในความจำระยะยาว ฉะนั้นวิธีง่ายที่สุดก็บอกได้เลยว่าต้องทำให้เจ้าฮิปโปแคมปัสคิดว่าข้อมูลที่เราดูหลายครั้งอ่านหลายรอบเป็นข้อมูลสำคัญ

.

หมายความว่าการทบทวนบ่อย ๆ เป็นพฤติกรรมที่ทำให้ฮิปโปแคมปัสคิดว่าข้อมูลที่เราทบทวนเป็นข้อมูลสำคัญ

.

แต่มีวิธีที่ดีกว่านั้น เพราะการทบทวนถึงแม้จะลดเส้นโค้งการลืมได้พอสมควร แต่ต้องใช้เวลาและความอดทนมาก และไม่ใช่วิธีที่สามารถทำให้จำได้นานมากพอ โดยเฉพาะกับการสอบที่มีเนื้อหาเป็นจำนวนมากอย่างปลัดอำเภอ

.

แทนที่เราจะทบทวนข้อมูลโดยการอ่านหนังสือเล่มเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก เราก็เปลี่ยนวิธีการนิดหน่อย ด้วยการอ่านหนังสือเล่มอื่นที่พูดถึงเนื้อหาเดียวกันด้วยมุมมองใหม่ไปพร้อมกัน 

.

ใช่!!! อ่านหนังสือ 2 เล่มพร้อมกัน ซึ่งการได้รับข้อมูลแบบมุมมองใหม่นี้ ไอ้เจ้าฮิปโปแคมปัสจะตัดสินว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลสำคัญได้ง่ายขึ้น 

.

ดังนั้น เราควรอ่านหนังสือเล่มอื่นที่พูดถึงเนื้อหาเดียวกันด้วยมุมมองใหม่ด้วย เพื่อให้สมองจดจำข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

.

วิธีนี้จึงเป็นการอ่านหนังสือที่ใช้ทักษะในการคิดและตรวจสอบไปพร้อมกัน เป็นการคิดวิเคราะห์ด้วยมุมมองที่หลากหลาย เป็นการอ่านเชิงรุก โดยเราเรียกทักษะการอ่านแบบนี้ว่า “การอ่านแบบขนาน” คือ การอ่านไปพร้อมกัน 2 เล่ม หรือ 3 เล่ม เพื่อตรวจสอบดูจุดร่วม จุดเหมือน จุดต่าง และข้อสังเกตของแต่ละเล่ม เป็นการอ่านตรวจสอบและทำให้สมองได้ทำงาน คิด วิเคราะห์ แยกแยะ และจดจำได้นานขึ้น นั่นเอง

.

.

————————————


#วิธีการอ่าน


1. เลือกหนังสือสองเล่มที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน (สมมติเล่มแดง อ.มนัส กับเล่มเหลือง อ.แม็ก)


2. อ่านหนังสือสองเล่มที่เลือกไว้ควบคู่กันไป โดยอ่านหนังสือเล่มแรกให้จบ 1 บทก่อน จากนั้นค่อยสลับไปอ่านอีกเล่มจนจบ 1 บท ในเรื่องเดียวกัน (อาจสลับแบบสุ่ม)


3. หาจุดร่วมและจุดต่างของหนังสือทั้งสองเล่ม


4. ให้เขียนจุดร่วมและจุดต่างลงบนกระดาษโพสต์อิท


5. เมื่ออ่านจบทั้งหมดแล้ว ให้ตรวจสอบ “จุดต่าง” ทีละเรื่อง ว่าทำไมความคิดเห็นของผู้เขียนทั้ง 2 คน ถึงต่างกัน


——————————————


ข้อมูลอ้างอิง : 


หนังสือ “อ่านแบบโทได” (นิชิโอกะ อิสเซ | เขียน)


——————————————

.

.

#วิถีแห่งสิงห์ #ปลัดอำเภอ #นายอำเภอ #กรมการปกครอง #สอบราชการ #อ่านหนังสือ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ๒๕๕๕ : ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ

ผู้ยึดมั่นในวิถีแห่งสิงห์

"ผู้ใหญ่บ้าน” ต้องมีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ…?